(Outstanding Researcher)


ผศ. ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท

สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ. 2566
1. โครงการต้นแบบระบบการจัดการของเสียในระดับชุมชนด้วยการเปลี่ยนเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพร่วมกับถ่านไฮโดรชาร์ ทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 450,000 บาท ตำแหน่ง หัวหน้าโครงการ
2. การยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียนฐานชีวภาพของกระบวนการร่วมผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลโคและปลูกหญ้าอาหารสัตว์เพื่อวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อต้นน้ำ ทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 628,950บาท ตำแหน่ง ผู้ร่วมโครงการ
3. การประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม : ต้นแบบระบบการผลิตพลังงานชีวภาพและใช้ประโยชน์จากวัสดุอินทรีย์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับอุตสาหกรรมผลิตกาแฟไทย กรณีศึกษาโรงงานผลิตกาแฟดอยตุง ทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จำนวน 1,046,000 บาท ตำแหน่ง ผู้ร่วมโครงการ
สาขาที่ได้รับรางวัล
: วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัย

กลุ่มภาคเหนือ

ผศ.ดร.นันทินา ดำรงวัฒนกูล

สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผลงานเด่น :
นักวิจัยได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวข้องกับงานในโครงการข้าวจากงานวิจัยการพัฒนาโซ่อุปทานข้าวเพื่อตอบสนองการตลาดยุคดิจิทัลแผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยเร่งด่วน : เรื่องข้าว ปีงบประมาณ 2562 ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ทำให้เกิดกระบวนการบูรณาการตลอดโซ่อุปทาน “ข้าวอัตลักษณ์ลำปาง” เพื่อตอบสนองการตลาดดิจิทัล, ข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อนเป็นหนึ่งในผลผลิตของโครงการ เนื่องจากจังหวัดลำปางยังไม่มีพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นที่มีลักษณะเด่น ดังนั้นจึงนำเอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดลำปางในการสนับสนุนการสร้างแบรนด์ “ข้าวอัตลักษณ์ลำปาง” เพื่อต่อยยอดระหว่างสินค้าและเรื่องราวการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
สาขาที่ได้รับรางวัล
: สหวิทยาการสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

กลุ่มภาคเหนือ

รศ.ดร.กันต์ อินทุวงศ์

สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ผลงานเด่น :
2564 การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูง “หาน้ำให้นาอิน”ด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) ทุนวิจัย 6,200,000 บาท
2565 การจัดการนวัตกรรมการผลิตไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนฐานราก”สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) ทุนวิจัย 1,500,000 บาท
2566การจัดการนวัตกรรมรับใช้สังคมด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนในการแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการขับเคลื่อนชุนชนพึ่งพาตนเองโดย “นวัตกรช่างชุมชน” สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) ทุนวิจัย3,280,000 บาท
สาขาที่ได้รับรางวัล
: วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัย

กลุ่มภาคเหนือ

ผศ.ดร. ประมุข ศรีชัยวงษ์

สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
ผลงานเด่น :
1) โครงการวิจัย “การส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปปลานิลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขื่อนลํา ปะทาว” ผลงานวิจัยสามารถนํามาแก้ไขปัญหาปลาตายจากสภาพอากาศ และเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน จากการตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบของเกษตรกร เป็นผลิตภัณฑ์ทาง อาหาร จนเพิ่มรายได้ และอาชีพที่ยั่งยืนให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้
2) โครงวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมฝายมีชีวิตเพื่อแก้ไขปัญหาระบบนิเวศน์ชุมชนลุ่มแม่น้ําชีจังหวัด ชัยภูมิ” ผลงานวิจัยถูกนํามาขยายผลและเป็นต้นแบบในการสร้างฝายมีชีวิตในหลายพื้นที่ และเป็น ต้นแบบของการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาสังคมวิทยา

กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 คุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการพิจารณา
1.1 เป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานประจำในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น ๆ
1.2 เป็นนักวิจัยที่อุทิศตนให้แก่การวิจัยและมีผลงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับถึงปี พ.ศ. 2565)
1.3 เป็นผู้มีผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเกิดกระบวนการเรียนรู้ และมีประโยชน์ต่อสาธารณชนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของประชาชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเมืองการปกครอง อุตสาหกรรม นโยบายของทางราชการ หรืออื่นๆ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.3.1 ประเด็นการวิจัยเกิดจากสภาพปัญหา เหตุการณ์ หรือความต้องการของชุมชน
1.3.2 มีกระบวนการวิจัยที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
1.3.3 มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
1.4 มีการสร้างทีมวิจัยภายในหน่วยงานหรือสถาบันที่มีความหลากหลาย
1.5 เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้สู่สาธารณชนอย่างเป็นรูปธรรม
1.6 เป็นผู้ทำงานวิจัยภายใต้กรอบของจรรยาบรรณนักวิจัยที่ดีมาโดยตลอด
1.7 เป็นผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
1.8 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างที่มหาวิทยาลัยกำลังตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย

ส่วนที่ 2 ผลกระทบ (Impact)
ผลงานวิจัยมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจฐานราก อุตสาหกรรม นโยบายของทางราชการ หรือด้านอื่น ๆ

1. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯและตัดสินผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น โดยคณะกรรมการต้องไม่เป็นเจ้าของผลงานวิจัยหรือเป็นผู้ร่วมวิจัยที่เสนอขอรับการพิจารณา (ผลการพิจารณาคัดเลือกฯ สิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง)

 2. สถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง ส่งผลการคัดเลือกนักวิจัยดีเด่น ตามรายละเอียดที่กำหนด มายังสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภายในวันที่  9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566          

3. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมมอบรางวัลในเวทีการประชุม “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” ภายในวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.  2566

สาขาวิชาการหรือสหวิทยาการที่ทำการวิจัย

  1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทยศาสตร์สาธารณสุข เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์การแพทย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา อนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี ชีวเคมี เคมี-อุตสาหกรรม อาหารเคมี เคมีโพลิเมอร์ เคมีวิเคราะห์ ปิโตรเคมี เคมีสิ่งแวดล้อม เคมีเทคนิค นิวเคลียร์เคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีชีวภาพ เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรม เภสัชวิทยา และพิษวิทยา เครื่องสำอาง เภสัชเวช เภสัชชีวภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ทรัพยากรพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทรัพยากรสัตว์ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ระบบเกษตร ทรัพยากรดิน ธุรกิจการเกษตร วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  5. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมวิจัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  6. สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ศิลปกรรม ภาษา สถาปัตยกรรม ศาสนา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  7. สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา กฎหมายอาญา กฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายธุรกิจ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายวิธีพิจารณาความและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  8. สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมือง สถาบันทางการเมือง ชีวิตทางการเมือง สังคมวิทยาทางการเมืองระบบการเมือง ทฤษฎีการเมือง รัฐประศาสนศาสตร์ มติสาธารณะ ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง เศรษฐศาสตร์การเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  9. สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบัญชีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  10. สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ปัญหาสังคมและสังคมสังเคราะห์ อาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรม มนุษยนิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม พัฒนาสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิศาสตร์สังคม การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ คติชนวิทยา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การสื่อสารด้วยดาวเทียม การสื่อสารเครือข่าย การสำรวจและรับรู้ระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  12. สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา พื้นฐานการศึกษา หลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา บริหารการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ พลศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

แบบฟอร์มเสนอประวัติและผลงานวิจัยของผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนักวิจัยดีเด่นและเข้ารับโล่พระราชทานในงาน ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
“ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7”