(Outstanding Researcher)
ผศ.ดร.เอนก หาลี
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
การแปรรูปอาหารที่หลากหลายวัตถุดิบและหลายรูปแบบ ทั้งยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากผลพลอยได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นอีกด้วย เช่น การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรจากผลพลอยได้ในระหว่างกระบวนการผลิตข้าว ชาและกาแฟ โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์ดูแลความงามเครื่องสำอาง
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา กลุ่มวิชา อุตสาหกรรมเกษตร
ผศ.ณัฐธิดา จุมปา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ผลงานเด่น : ปี พ.ศ. 2566 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้และสมุนไพรของเกษตรกรอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สาขาที่ได้รับรางวัล : ด้านการพัฒนาสังคม
ผศ.ดร.ธัชชา สามพิมพ์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2564 ยกระดับการเรียนรู้ของประชาชน เพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกลไกความร่วมมือระดับเมืองภายใต้ฐานทรัพยากรชีวภาพและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ยกระดับเมืองปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา กลุ่มวิชา อุตสาหกรรมเกษตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทนา แสงแก้ว
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
– โครงการวิจัย เรื่อง การติดตามการสะพรั่งของสาหร่ายทะเล โดยประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์
อากาศยานขนาดเล็ก บริเวณสวนสาธารณะสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต และแนวทางการ
น ามาใช้ประโยชน์ แหล่งทุน : ส านักงานการวิจัยแห่งชาติ 2566
– โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษามวลชีวภาพและรูปแบบการแพร่กระจายของสาหร่ายสีแดงสกุล Bostrychia และ Caloglossa ในพื้นที่ป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ปี 2565
– โครงการวิจัย เรื่อง ความแปรผันของสารพันธุกรรมและลักษณะทางชีวภูมิศาสตร์ของสาหร่ายสีแดง Bostrychia tenella และ B.binderii ในประเทศไทย แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ปี2562
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ได้รับรางวัลโล่เชิดชูเกียรติ “เสมาภักดิ์ รักษ์ชายแดนใต้”
ผู้ทำประโยชน์ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทสนับสนุนการขับเคลื่อนการศึกษา จชต. ด้านการขับเคลื่อนทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร จากศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
โดยค้นคว้าศึกษาวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ผ่านบริการวิชาการ เพื่อ
ช่วยเหลือชาวนาไทย ทำให้สามารถเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่ปลูกในแปลงเกษตรกรในอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสงขลามาดำเนินการคัดลายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ การผลิตมสัตพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดี และปลูกแสดงพันธุ์ข้าวพื้นมืองดังกล่าวในแปลงอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองภาคได้ ณ บ้านสวนใต้ ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นเหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในช่วงปี 2563-2564 จากนั้นได้ส่งมอบเมล็ดข้าวพื้นเมืองให้หน่วยงานต่างๆดังนี้ 1) ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัต กรรม 3) สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองแบบระยะยาวนับเป็นการดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิดา ศรีราชยา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2566
-ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โครงการนวัตกรรมชื่อ เครื่องคั่วและกะเทาะเปลือกเมล็ดโกโก้ ประจำปีงบประมาณ 2566 -ณัฐธิดา ศรีราชยา (อยู่ในระหว่างการยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร). อนุสิทธิบัตรเรื่องเครื่องคั่วและกะเทาะเปลือกเมล็ดโกโก้
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิวากรณ์ ราชูธร
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
1) ด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมขน จากผลงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา และ การพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะมูลฝอย ตำบลหนองพลวงอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
2) ด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารรถเร่ จากผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาความรู้และการปฏิบัติเรื่องการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการรถรจำหน่ายอาหารอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
3) ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม จากผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการจัดการส้วมสาธารณะของมหาวิทยาลัย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและ ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลของคนงานจัดการสิ่งปฏิกูลในจังหวัดนครราชสีมา
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
รองศาสตราจารย์อุทิศ ทาหอม
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น : 1. โครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 2. โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอาหารปลอดภัย จังหวัดบุรีรัมย์” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประเภททุนสนับสนุนงานพื้นฐาน Fundamental fund ประจำปีงบประมาณ 2565 3. โครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์: กรณีศึกษา ชุมชมสายตรีพัฒนา 3 และชุมชนสายตรี 7” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาสังคมวิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นนทพงษ์ พลพวก
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
โครงการ การใช้ประโยชน์จากของเสียชีวมวลทางการเกษตรสําหรับกระบวนการผลิตอิฐมอญเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน : วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (หัวหน้าโครงการ)
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๖
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สุรชัย รัตนสุข
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2565
-ผลของพันธุ์ข้าวและแมลงกินได้ต่อการเจริญและการผลิตสารคอร์ไดเซปินของเห็ดถั่งเช่าสีทอง -การประเมินฤทธิ์กิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายชนิดโดยใช้สารสกัดจากพืชแหล่งใหม่ ปี พ.ศ.2566 -การประเมินฤทธิ์กิจกรรมการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายชนิดโดยใช้สารสกัดจากพืชแหล่งใหม่ -การพัฒนาลูกแป้งสำหรับการผลิตสาโทจากข้าวเหนียว
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภควดี ศิริวัชรสุข
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2565 1. หัวหน้าโครงการพัฒนาโรงเรือนเกษตรอินทรีย์อัจฉริยะน็อคดาวน์ต้นแบบร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง งบประมาณกองทุนสนับสนุนงานวิจัยบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
2. รองหัวหน้าโครงการย่อย การพัฒนาโมเดลแก้จนอำเภอท่าลี่จังหวัดเลย (Operating Model) ด้วยแนวคิด “ฟื้นฟูเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยไผ่” งบประมาณหน่วยบริหารจัดการทุนระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการยกระดับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากไผ่และหน่อไม้แปรรูป จำนวน 6 ผลงาน 2.1 เตาเผาถ่านกัมมันต์ (ไม้ไผ่) อนุรักษ์พลังงาน
2.2 เครื่องบดและอัดเม็ดถ่านกัมมันต์ (ไม้ไผ่)
2.3 เครื่องฝานและหั่นเส้นหน่อไม้
2.4 เครื่องผ่า-จัก-เหลาตอก
2.5 ตู้อบแห้งพลังงานความร้อนร่วมแสงอาทิตย์และไฟฟ้า
2.6 ระบบจ่ายน้ำสวนไผ่
3. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน การออกแบบและพัฒนาเครื่องปั่นน้ำยางพาราข้น สาขาวิชาวิศวกรรม การออกแบบและผลิต
4. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน การออกแบบและพัฒนาเครื่องหล่อน้ำดินกึ่งอัตโนมัติ สาขาวิชาวิศวกรรม การออกแบบและผลิต
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.เอมอร แสนภูวา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาความมั่นคงชุมชนตามแนวชายแดนจังหวัดศรีสะเกษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน.วารสารพัฒนาสังคม ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (2564):ตุลาคม 2564 คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาสังคมวิทยา
รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุฒิ บุญเกิดรัมย์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 ชื่อโครงการวิจัย โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของพืชฤดูแล้งในพื้นที่บ้านนางอย ตําบลเต่างอย อําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูจิต สาระภาค
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
2566-2567 การขยายเครือข่ายการใช้นวัตกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงแบบ 3 มิติเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูและนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ งบประมาณ จาก บพท ประจําปงบประมาณ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายด้วยปฏิบัติการเสมือนจริงแบบ 3 มิติ สู่โรงเรียน 40 โรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาการศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สไว มัฐผา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
การค้นพบพืชชนิดใหม่ทั้งในประเทศไทยและเขตอินโดจีนอีกซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจสอบด้านสัณฐานวิยา เรณูวิทยาและชีวโมเลกุลและเผยแพร่ผลงานการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ การวิจัยพฤกษศาสตร์ด้านซีสเทมาติกส์พืชวงศ์ถั่วยังดำเนินงานต่อเนื่องด้วยความร่วมมือจากนักพฤกษศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนงานบางส่วนจากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (Unviersity of Reading, UK) และสวนพฤกษศาสตร์คิว (The Royal Botanical Gardens, Kew, UK) ในระหว่างการศึกษาต่อปริญญาเอก ณ สหราชอาณาจักร นำไปสู่การศึกษาวิจัยสายสัมพันธ์เชิงโมเลกุลพืช (molecular phylogeny)
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
รองศาสตราจารย์ ดร.รัชตาภรณ์ ลุนสิน
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
การศึกษาวิจัยการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อลดต้นทุนการผลิตสัตว์ เช่น กากปาล์มน้ำมันและยูเรียอัดเม็ด ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดคุณภาพสูง ชานอ้อยหมัก กากมันสำปะหลังและฝุ่นข้าวโพดหมัก เป็นต้น
หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดคุณภาพสูงเพื่อใช้เป็นอาหารโคนม” ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “ผลของการเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในอาหารผสมสำเร็จที่ใช้ชานอ้อยหมักยูเรียเป็นอาหารหยาบต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตของโคนม” ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากฝุ่นข้าวโพดหมักร่วมกับกากมันสำปะหลังเพื่อเป็นอาหารโคเนื้อ” ทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
อนุสิทธิบัตร “อาหารอัดเม็ดคุณภาพสูงสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ผลิตจากทางใบปาล์มน้ำมัน”
อนุสิทธิบัตร “อาหารอัดเม็ดสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ผลิตจากกากปาล์มน้ำมันและยูเรีย”
สาขาที่ได้รับรางวัล :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลัดดาวัลย์ จําปา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2566 -การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเพื่อกําจัดขยะในครัวเรือนอย่างเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม -การจัดการทุนทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ
ชุมชนและสํานึกรักท้องถิ่น อําเภอเมืองกาญจนบุรี -การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริงเพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ยุคความปรกติใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง ตะวันตก กาญจนบุรี
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2566 -แผนงานวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากขยะเศษแก้วสีเหลือใช้จากโรงงานแก้วในชุมชนจังหวัดนครปฐม.
เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องประดับ” โครงการย่อยที่ 1 : การพัฒนาสูตรแก้วและหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการ .เตรียมแก้วจากขยะแก้วสีในจังหวัดนครปฐม (ผู้ร่วมโครงการวิจัย) งบประมาณแผ่นดิน (วช.) ประจำปี .งบประมาณ 2566 -แผนงานวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากขยะเศษแก้วสีเหลือใช้จากโรงงานแก้วในชุมชนจังหวัดนครปฐม.
เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องประดับ” โครงการย่อยที่ 2 : การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อัญมณีและ – .เครื่องประดับที่เตรียมจากขยะแก้วสีเพื่อเป็นสินค้าเอกลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม (หัวหน้าโครงการวิจัย) งบประมาณแผ่นดิน (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2566
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิิทยาศาสตรืกายภาพและคณิตศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา สุคนธ์ธารา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาขนมหม้อแกงเมืองเพชรสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ (Development of Healthy Phetchaburi Styled Egg Custard to Support the elderly) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และได้รับการคัดเลือกและสนับสนุนการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจาก สวก. โดยผ่านการประสานงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน “SILVER MEDAL” จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “2022 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2022) ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรและชีววิทยา
อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ นาคเสนีย์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
-ความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้นำเครื่องมือการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) มาใช้
ในการวิจัยและการเผยแพร่ผลบทความวิจัยทำให้ได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับรองการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) ของสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทยในการตรวจรับรองการประเมินรับรองรายงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ
รศ.ดร.ลวัณกร มุกดาสนิท
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ได้รับทุนวิจัยจาก สกสว.เรื่อง “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสร้างความเชื่อมั่นของกลุ่มการค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวเปลือกในจังหวัดชัยนาท” รายละเอียดคือการสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์แบบ Handcrafted-feature กับเครือข่ายประสาทเทียม ในการตรวจสอบคุณภาพของเม็ดข้าวอัตโนมัติโดยใช้รูปถ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของข้าวขาวเองสำหรับชาวนาที่ปลูกและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขายกรมการข้าว ชัยนาท
สาขาที่ได้รับรางวัล : เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
อาจารย์ธิติพงศ์ วุฒิศาสตร์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
งานวิจัยด้านวัสดุแตกสลายได้ทางชีวภาพได้ริเริ่มโดยเป็นงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาในรุ่นแรกได้ส่ง
เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 19 (GNRU19)
ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในงานนี้ได้ผลิตนักศึกษาร่วมวิจัย 4 ท่าน ในรุ่นถัดมาได้พัฒนาต่อยอดและส่งเผยแพร่ในราชภัฏวิจัยครั้งที่ 6 (Online) ได้รางวัล Best Presentation award งานวิจัยนี้ผลิตนักศึกษาร่วมวิจัยอีก 4 ท่าน และต่อยอดเป็นงานวิจัยเดี่ยวได้เผยแพร่ในฐาน SCOPUS Quartile 3หั ว ข้ อ Development of Waterproof Papers from Water Hyacinth Fibers Modified by Polylactide และงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาที่ได้เผยแพร่ในฐาน SCOPUS Quartile 3 เช่นกัน อีกทั้งมีงานวิจัยด้านวัสดุที่บูรณาการกับด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ได้ศึกษาความรู้และทัศนคติต่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ.2566 โครงการพัฒนาเครือข่ายจตุรภาคี และฐานข้อมูลท้องถิ่นเพื่อสนับสนสุนการยกระดับบแบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตและของปรัชนชนในท้องถิ่น
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาสังคมวิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา ไม้สนธิ์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างชัดเจน ทั้งในด้านมูลค่าของการผลิต การจ้างงาน การส่งออก และที่สำคัญเชื่อมโยงกับภาคการเกษตรและและรายได้ของเกษตรกรไทย โดยส่วนใหญ่อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยยังมีขนาดเล็กและขนาดกลาง ในภาวะที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูง การใช้กระบวนการวิจัย โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการใช้ประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การแก้ไขปัญหาการผลิต จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
1.ได้นวัตกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
2.ได้องค์ความรู้จากผลการวิจัยที่สามารถเผยแพร่และใช้ประโยชน์เชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ 3.ได้พัฒนานักวิจัยชุมชนที่สามารถมาต่อยอดและเผยแพร่องค์ความรู้สู่การสร้างความมั่นคงในอาชีพ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม
– สาขาเกษตรและชีววิทยา ด้านทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ บุญกุศล
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
เรื่อง “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับกระบวนการแปรรูปปลาช่อนแม่ลา
ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลาช่อนตําบลแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรีแหล่งทุนสนับสนุน สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ระยะเวลา 1 ปี (พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566)
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพล แสนบุญส่ง
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ปี พ.ศ. 2563
– หัวหน้าโครงการวิจัย ชื่อโครงการ “การพัฒนาเกมบนโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคํานวณสําหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา” ปี พ.ศ.2566 – หัวหน้าโครงการวิจัย ชื่อโครงการ “การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุยุคใหม่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
สาขาที่ได้รับรางวัล :สาขาการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร ดียิ่ง
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
-เชี่ยวชาญงานวิจัยที่เน้นว่าอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่เกิดจากความต้องการของชุมชน แต่ก็อยู่ในศาสตร์ที่ผู้วิจัยถนัด เช่น ด้านพืช ด้านเห็ด และด้านสัตว์และสามารถที่จะพัฒนาหรือสร้างสรรค์กระบวนการวิจัยร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้ -สถาพร ดียิ่ง สุรีพรย์ ธรรมิกพงษ์ สรรเพชญบันลือวงศ์ และ ทสพล รวมฉิมพลี นําเสนองานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าสีทองที่เพาะเลี้ยงในสูตรอาหารที่มีแมลงชนิดแตกต่างกัน ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยาครั้งที่ 10ภายใต้หัวข้อ “วิจัย นวัตกรรม นําการพัฒนาท้องถิ่น” วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เผยแพร่โดยโปสเตอร์
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
เชี่ยวชาญการวิจัยด้านการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและเศษเหลือทางการเกษตร โดยมีผลงานเด่นในรอบปี 2563-2565 ดังนี้ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากเปลือกทุเรียนและการวิจัยตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนภาคตะวันออก 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาเส้นอบกรอบปรุงรสจากปลาโคกเพื่อวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด และ 3) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมจากกระวานเพื่อพัฒนาอาชีพชุมชนในพื้นที่ประสบภัยจากช้างป่า
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย/ผลงานเด่น :
ในปี 2566
– โครงการปัจจัยสู่ความสําเร็จสําหรับการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ในเขตชุมชนเมืองของประเทศไทยด้วยการประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสทางสิ่งแวดล้อม
– โครงการการจัดการความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัด
ปทุมธานี
– การศึกษาพัฒนาต้นแบบชุมชนพลังงานทดแทนแบบผสมผสานผ่านกระบวนการขับเคลื่อนและ
พัฒนาด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน จังหวัดสระแก้ว
สาขาที่ได้รับรางวัล : สาขาเกษตรศาสตรและชีววิทยา
เกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 คุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการพิจารณา
1.1 เป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานประจำในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น ๆ
1.2 เป็นนักวิจัยที่อุทิศตนให้แก่การวิจัยและมีผลงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับถึงปี พ.ศ. 2565)
1.3 เป็นผู้มีผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเกิดกระบวนการเรียนรู้ และมีประโยชน์ต่อสาธารณชนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของประชาชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเมืองการปกครอง อุตสาหกรรม นโยบายของทางราชการ หรืออื่นๆ ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.3.1 ประเด็นการวิจัยเกิดจากสภาพปัญหา เหตุการณ์ หรือความต้องการของชุมชน
1.3.2 มีกระบวนการวิจัยที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
1.3.3 มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
1.4 มีการสร้างทีมวิจัยภายในหน่วยงานหรือสถาบันที่มีความหลากหลาย
1.5 เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้สู่สาธารณชนอย่างเป็นรูปธรรม
1.6 เป็นผู้ทำงานวิจัยภายใต้กรอบของจรรยาบรรณนักวิจัยที่ดีมาโดยตลอด
1.7 เป็นผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
1.8 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างที่มหาวิทยาลัยกำลังตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย
ส่วนที่ 2 ผลกระทบ (Impact)
ผลงานวิจัยมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจฐานราก อุตสาหกรรม นโยบายของทางราชการ หรือด้านอื่น ๆ
1. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกฯและตัดสินผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น โดยคณะกรรมการต้องไม่เป็นเจ้าของผลงานวิจัยหรือเป็นผู้ร่วมวิจัยที่เสนอขอรับการพิจารณา (ผลการพิจารณาคัดเลือกฯ สิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง)
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง ส่งผลการคัดเลือกนักวิจัยดีเด่น ตามรายละเอียดที่กำหนด มายังสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภายในวันที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2566
3. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมมอบรางวัลในเวทีการประชุม “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7” ภายในวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
สาขาวิชาการหรือสหวิทยาการที่ทำการวิจัย
- สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทยศาสตร์สาธารณสุข เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์การแพทย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา อนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี ชีวเคมี เคมี-อุตสาหกรรม อาหารเคมี เคมีโพลิเมอร์ เคมีวิเคราะห์ ปิโตรเคมี เคมีสิ่งแวดล้อม เคมีเทคนิค นิวเคลียร์เคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีชีวภาพ เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรม เภสัชวิทยา และพิษวิทยา เครื่องสำอาง เภสัชเวช เภสัชชีวภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ทรัพยากรพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทรัพยากรสัตว์ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ระบบเกษตร ทรัพยากรดิน ธุรกิจการเกษตร วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมวิจัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ศิลปกรรม ภาษา สถาปัตยกรรม ศาสนา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา กฎหมายอาญา กฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายธุรกิจ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายวิธีพิจารณาความและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายศาสตร์ อุดมการณ์ทางการเมือง สถาบันทางการเมือง ชีวิตทางการเมือง สังคมวิทยาทางการเมืองระบบการเมือง ทฤษฎีการเมือง รัฐประศาสนศาสตร์ มติสาธารณะ ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง เศรษฐศาสตร์การเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบัญชีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ปัญหาสังคมและสังคมสังเคราะห์ อาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรม มนุษยนิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม พัฒนาสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิศาสตร์สังคม การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ คติชนวิทยา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การสื่อสารด้วยดาวเทียม การสื่อสารเครือข่าย การสำรวจและรับรู้ระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา พื้นฐานการศึกษา หลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา บริหารการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ พลศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์มเสนอประวัติและผลงานวิจัยของผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนักวิจัยดีเด่นและเข้ารับโล่พระราชทานในงาน ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
“ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7”