(Exhibition)
กับการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
NR-01 การพัฒนาท้องถิ่นด้วยงานวิจัยเกษตรอินทรีย์
รหัส: NR-01
ผลงาน: การพัฒนาท้องถิ่นด้วยงานวิจัยเกษตรอินทรีย์
เนื้อหาโดยย่อ:
การปลูกข้าวปลอดสารเคมี ที่ให้ผลผลิตเป็นข้าวคุณภาพสูงและปลอดภัย ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีมูลค่าสูงได้อีกด้วย ทั้งอาหารแปรรูป หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอางจากธรรมชาติ พร้อมทั้งแนวคิด BCG สำหรับการนำเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปอาหารมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าทางการตลาด ทั้งยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปลอดสารเคมีอีกด้วย
NR-03 “การก่อเกิดนวัตกรช่างชุมชน แห่ง สังคมนวัตกรรม “หาน้ำให้นาอิน” เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน”
รหัส: NR-03
ผลงาน: การก่อเกิดนวัตกรช่างชุมชน แห่ง สังคมนวัตกรรม “หาน้ำให้นาอิน” เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูง “หาน้ำให้นาอิน”ด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมต้นแบบด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนโดย “การจัดการนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง” ในการนำเทคโนโลยีแบบชุมชนพึ่งพาตนเองซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ตำบล นาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 หมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งในการสูบน้ำมาใช้ในการเกษตร ซึ่งมีปัญหาในการทำการเกษตรนอกฤดูกาลไม่ได้เพราะแหล่งน้ำที่สามารถกักเก็บไว้ใช้ในการเพาะปลูกนอกฤดูกาลได้ปัญหาในการนำแหล่งน้ำมาใช้เพราะปลูก จึงมีการนำแนวทางการใช้ระบบสูบน้ำด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ราบสูงด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนและรถสูบน้ำเคลื่อนที่พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งกระบวนการและความรู้ ซึ่งจะถูกใช้ในการออกแบบระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างมีระบบและมีส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี KM: ภาคปฏิบัติชุมชน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ชนบท หรือระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และจึงเป็นการแก้ปัญหาสำคัญที่สุดของตำบลนาอิน เพราะอาชีพในการท้าไร่ ทำนา ทำการเกษตร นั้นถือว่าเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนได้อยู่ดีกินดี
NR-04 การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของบุกไข่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
รหัส: NR-04
ผลงาน: การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของบุกไข่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อหาโดยย่อ:
“บุกไข่” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของตลาดเนื่องจากเป็นพืชอาหารเพื่อสุขภาพเพราะหัวบุกมีสารเส้นใยที่สำคัญคือกูลโคแมนแนนซึ่งมีองค์ประกอบเป็นน้ำตาลกูลโคสและแมนโนส เมื่อนำมาสกัดออกมาจะได้เป็นผงบุกแห้งเมื่อนำไปละลายน้ำจะได้วุ้นใยอาหารธรรมชาติ เหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนัก ดังนั้นบุกจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย และอำเภอแม่สะเรียงซึ่งมีพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ดำเนินการสำรวจพบว่าปริมาณบุก 3 อำเภอซึ่งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีประมาณ 5,000 ตันต่อปี โดยที่ผ่านมาจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เปิดให้เอกชนสัมปทานการเก็บเกี่ยวหัวบุกจำนวน 2,500 ตันต่อปี และยังมีเหลืออีก 2,500 ตันที่ยังไม่ได้มีการสัมปทานเพื่อการเก็บเกี่ยว แต่มีการลักลอบขุดบุกไปขาย ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อการขยายพันธุ์ ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร เพื่อลดการลักลอกขุดจากป่า และการศึกษาฤกษ์ของพฤกษเคมีต่างๆ ในบุกทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อเป็นข้อมูลในการแปรรูปบุกให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง รวมทั้งจัดหาช่องทางในการจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรอย่างยั้งยืนต่อไป
NR-06 “การพัฒนาสับปะรดครบวงจรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุฯภาพชีวิตชุมชนท้องภิ่นตำบลบ้านแยง”
รหัส: NR-06
ผลงาน: การพัฒนาสับปะรดครบวงจรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุฯภาพชีวิตชุมชนท้องภิ่นตำบลบ้านแยง
เนื้อหาโดยย่อ:
การนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านแยง ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมทั้งสถาบันการศึกษา ภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตั้งแต่ตันน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีผลผลิตสับปะรดผลสดที่ได้มาตรฐาน GAP. มีผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดพร้อมจำหน่ายในรูปแบบทั้ง Offine และ Online สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน เกิดสภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น และเกิดการขยายผลเป็นหมู่บ้านทำมาค้าขายรวมทั้งยังมีแผนการพัฒนาหมู่บ้านที่เป็นนโยบายระดับจังหวัด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน
NR-07 “การศึกษาสาระสำคัญและฤทธิ์ของตำรับยาเบญจกูลในการยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี”
รหัส: NR-07
ผลงาน: การศึกษาสาระสำคัญและฤทธิ์ของตำรับยาเบญจกูลในการยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี
เนื้อหาโดยย่อ:
การนำงานวิจัยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านการแพทย์แผนไทย มานำเสนอ โดยการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยจากงานวิจัยในการศึกษาสารสำคัญที่พบในตำรับยาพิกัดเบญจกูลซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรไทย 5 ชนิด ได้แก่ ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดงและ ขิงแห้ง ซึ่งตำรับยานี้มีใช้มาแต่ดั้งเดิมเพื่อการปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลก่อนทำการรักษา ดังนั้นคณะผู้วิจัยจะนำเสนอนิทรรศการโดยการนำสมุนไพรไทยที่ใช้ในการวิจัยมาแสดง รวมถึงแสดงผลต่อการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งให้ผลในการยังยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีได้ การวิจัยต่อยอดถัดไปคือการศึกษาในสัตว์ทดลองรวมถึงการศึกษาในคน เพื่อให้งานวิจัยตอบโจทย์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งในอนาคต การป้องกัน รักษาโรคมะเร็งโดยใช้ยาแผนไทยก็เป็นอีกแนวทางการรักษาอีกทางหนึ่งหรือที่เรียกว่าแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีตัวเลือกด้านการรักษาอีกทางหนึ่ง
ER-01 “ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิที่ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
รหัส: ER-01
ผลงาน: ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิที่ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เนื้อหาโดยย่อ:
นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาได้แก่ น้ำมันหอมระเหย ตะไคร้หอมกันยุง ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ลูกประคบสมุนไพร สมุนไพรบดผง กระชายดำ ขิง แชมพูมะคำดีควาย เครื่องดื่มขิงผง โลชั่นบำรุงผิวโปรตีนไหม สมุนไพรพอกหน้า ตะกร้าหวายเทียม ร่มผ้าไทย เป็นต้น
ER-02 “การพัฒนาท้องถิ่นโคราชด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
รหัส: ER-02
ผลงาน: การพัฒนาท้องถิ่นโคราชด้วยวิจัยและนวัตกรรม
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาขับเคลื่อนการทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย และระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เป้าหมาย มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองแนวทางดำเนินโครงการพระราชดำริและยุทธศาสตร์ของจังหวัดและยุทธศาสตร์ของภูมิภาค รวมถึงทิศทางการพัฒนาของประเทศ ภายใต้โจทย์การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อขจัดความยากจน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีศักยภาพในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่พึ่งตนเองได้ บนฐานการสร้างพื้นที่เสริมศักยภาพท้องถิ่นตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) รวมทั้งการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าสู่การสร้างสังคมและเศรษฐกิจมูลค่าสูงโดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างมูลค่าและทุนทางสังคม อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม การลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างยั่งยืน
ER-03 “นวัตกรรมชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสังคมด้วยโมเดลพุ่มพวง”
รหัส: ER-03
ผลงาน: นวัตกรรมชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสังคมด้วยโมเดลพุ่มพวง
เนื้อหาโดยย่อ:
1.การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) เพื่อจัดหาสินค้าบางรายการให้แก่รถพุ่มพวงและเป็นศูนย์รวบรวมสินค้าให้แก่รถพุ่มพวงเพื่อลดเวลาในการจัดหาสินค้าบางรายการที่ต้องใช้เวลาและต้นทุนที่สูงในการจัดหา เป็นต้น
2.การพัฒนา Application Pumpuang เพื่อจัดหา Order สินค้าและจัดการสินค้าให้แก่รถพุ่มพวงโดยการสั่งของผ่านรถพุ่มพวงนั้นจะมีศูนย์กระจายสินค้าชุมชนเป็นตัวเชื่อมระหว่างรถพุ่มพวงกับลูกค้ารถพุ่มพวง เมื่อสั่งของสำเร็จแล้ว Order สินค้าจะปรากฏที่ศูนย์กระจายสินค้าชุมชนและศูนย์ฯก็จะไปหาสินค้านั้นมาไว้ที่ศูนย์ฯเพื่อให้รถพุ่มพวงมารับไปส่งลูกค้าในวันถัดไป
3. การจัดทำระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวงเพื่อจูงใจให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์กระจายสินค้าและรถพุ่มพวง เช่น การทำประกันชีวิตและอุบัติเหตุ การจ่ายเงินปันผลให้รถพุ่มพวงเพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้า การให้โบนัสแก่รถพุ่มพวงเพื่อตอบแทนความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการดำเนินงานร่วมกับศูนย์กระจายสินค้า
ER-04 “พัฒนา เมืองสมุนไพร มหาสารคาม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม“
รหัส: ER-04
ผลงาน: “พัฒนา เมืองสมุนไพร มหาสารคาม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
เนื้อหาโดยย่อ:
การพัฒนา เมืองสมุนไพร มหาสารคาม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม มีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาด แปรรูปเบื้องต้น ปริมาณวัตถุดิบสมุนไพรอย่างมีคุณภาพมีความเพียงพอใกล้เคียงต่อความต้องการใช้ของผู้ประกอบการ และอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้คงไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน หลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน GAP มีการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมจากเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ไปประยุกต์ใช้กับการแปรรูปสมุนไพรและการผลิตผลิตภัณฑ์และสารสกัดอย่างง่ายในระดับชุมชน มีแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนได้เรียนรู้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น และอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์สมุนไพร มีความสามารถในการพัฒนา จัดการชุมชนพึ่งตนเองและบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตในพื้นที่จากทุนทางสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า เกิดนวัตกรรมชุมชน วิสาหกิจชุมชน และ Smart SMEs เพื่อยกระดับรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
ER-05 “วิจัยและนวัตกรรมนำพาชุมชนก้าวหน้า สังคมยั่งยืน”
รหัส: ER-05
ผลงาน: วิจัยและนวัตกรรมนำพาชุมชนก้าวหน้า สังคมยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
นำนวัตกรรมและองค์ความรู้สู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ER-06 “ท่าลี่โมเดล…ฟื้นฟูเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยไผ่”
รหัส: ER-06
ผลงาน: ท่าลี่โมเดล…ฟื้นฟูเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยไผ่
เนื้อหาโดยย่อ:
นิทรรศการผลงานวิจัยพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) นำเสนอผลิตภัณฑ์ “ไผ่และหน่อไม้” พื้นที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่บนศักยภาพทุนทางธรรมชาติ ผ่านกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework: SLF)
ER-07 “ลาบพืชแก้จน”
รหัส: ER-07
ผลงาน: ลาบพืชแก้จน
เนื้อหาโดยย่อ:
ผลิตภัณฑ์ลาบพืชได้รับการศึกษาวิจัยและพัฒนาจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่สูงด้วยกระบวนการประหยัดน้ำสำหรับแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อย ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จากการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โตยมีกระบวนการดำเนินงานสำรวจหาครัวเรือนคนจนในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ แล้วเลือกพื้นที่เป้าหมายตามข้อมูลบริบทชุมชน และการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่และครัวเรือนคนจนสัมพันธ์กับหลักการทุน 5 มิติ ผลการวิเคราะห์สามารถเลือกพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ตำบลหนองแก้ว ตำบลหนองไฮ และตำบลชำ ในการเข้าไปดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับกระบวนการปลูกถั่วเหลืองแบบประหยัดน้ำ ผลผลิตถั่วเหลืองที่ได้จากกระบวนการปลูกจะถูกนำไปสู่กิจกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อจากพีช จากนั้นคณะวิจัยได้มีการวางแผนเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยการพัฒนาผงลาบสำร็จรูปที่สามรถก็บรักษได้นาน แล้วนำมาใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชเกิดเป็น “ผลิตภัณฑ์ลาบพืช” ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโปรตีนสูง เหมาะสำหรับผู้บริโภคทุกเพศวัยโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอาย และกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ลาบพืชยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้กลุ่มครัวเรือนคนจนมีรายได้เสริมหลังการทำนา
ER-08 “ศาสตร์พระราชา “สืบสานพระราชปณิธานตามรอยพระยุคลบาท ราชภัฏคนของพระราชา “
รหัส: ER-08
ผลงาน: ศาสตร์พระราชา “สืบสานพระราชปณิธานตามรอยพระยุคลบาท ราชภัฏคนของพระราชา
เนื้อหาโดยย่อ: ผลงานโครงการงานศาสตร์พระราชาที่ได้รับการถ่ายทอดลงสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเห็นเป็นรูปธรรม คือ เส้นทางการพัฒนางานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่น ที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาเชิงพื้นที่ ด้านการเกษตรมูลค่าสูง การส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น ประการที่สำคัญของการน้อมนำศาสตร์พระราชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครสู่ท้องถิ่นสิ่งสำคัญที่ได้จากการพัฒนาเชิงประจักษ์คือความร่วมมือ ความรู้รักสามัคคี ส่งผลต่อความสุขประชาชนและคุณภาพชีวิตที่ดี
ER-09 “นวัตกรรมการส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก”
รหัส: ER-09
ผลงาน: นวัตกรรมการส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก
เนื้อหาโดยย่อ:
เป็นองค์ความรู้เทคโนโลยีการย้อมเส้นไหมด้วยศรีธรรมชาติ มาพัฒนาวิธีการย้อมเส้นไหมให้ได้สีคงทน สรสันสวยงามสร้างลวดลายเฉพาะถิ่นให้เป็นเอกลักษณ์ชุมชน ส่งเสริมกาสรเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองสอดคล้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ER-10 “การนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เศรษฐกิจ BCG”
รหัส: ER-10
ผลงาน: การนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่เศรษฐกิจ BCG
เนื้อหาโดยย่อ: “การนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เศรษฐกิจ BCG” คือ การใช้กระบวนการวิจัยและวินิจฉัยชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยยึดหลักแนวคิดในการดำเนินการวิจัย 3 มิติ ที่สำคัญ นั่นก็คือ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “แนวคิดเศรษฐกิจ BCG” และ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” จึงเกิดเป็นกิจกรรมเพื่อการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อการผลิตและแปรรูปข้าว อย่างครบวงจร อันจะนำไปสู่ชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ด้วย “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” เพิ่มมากขึ้น ประชาชนในชุมชน มีรายได้ที่มั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ER-11 “นวัตกรรมแก้วเปลี่ยนสี (Innovative color changing glass)”
รหัส: ER-11
ผลงาน:
เนื้อหาโดยย่อ:
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศาสนา และธรรมชาติ เป็นหนึ่งส่วนของเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างเช่น สามพันโบก ถนนคนเดินเขมราฐ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว เป็นต้น สำหรับกรณีของวัดสิรินธรวรารามภูพร้าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ศาสนา ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวในช่วงเวลาค่ำเพื่อชมความงามของการเรืองแสงของสถานที่ทางวัฒนธรรม และวิวแสงไฟอันสวยงามในช่วงเวลามืด ทำให้ประชาชนเล็งเห็นว่ายังขาดสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ศาสนา ช่วงเวลากลางวัน จากข้อมูลข้างต้นนี้ผู้นำชุมชน และประชาชนจึงเกิดแนวความคิดโครงการ “แก้วหน้าม้า” กล่าวคือใช้ความงามของแก้วดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในช่วงเวลากลางวันได้ตลอดปี เปรียบเสมือนให้แก้วที่สวยงามเป็นหน้าม้าดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยใช้แก้วที่สามารถเปลี่ยนสีจากสภาวะเร้าภายนอกในช่วงกลางวัน จากแนวความคิดข้างต้นจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลและเงื่อนไขที่เหมาะสมทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างหรือประดิษฐ์แก้วเปลี่ยนสีเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง landmark แห่งใหม่ นักวิจัยและประชาชนจึงเล็งเห็นว่าการนำแก้วรีไซเคิลกลับมาสร้างผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางที่เหมาะสม ทั้งเป็นการประหยัด และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยวัสดุแก้วที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาหลอมใหม่ (recycle) เพื่อประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากแก้วที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาวะเร้าภายนอก เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์สินค้า และดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวให้สูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์แก้วเปลี่ยนสีจะเป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศาสนา ของจังหวัดอุบลราชธานีได้ ในการจัดนิทรรศการจะได้นำเสนอกระบวนการผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์จากแก้ว ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งต้นแบบและตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้าที่สามารถนำไปจำหน่ายได้
SR-01 “การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช”
รหัส: SR-01
ผลงาน: การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
เนื้อหาโดยย่อ: ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยกระบวนการผลิตที่เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้และภูมิปัญญามารุ่นต่อรุ่น จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภามีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และยังถือได้ว่าเป็นสินค้าในตลาดเฉพาะกลุ่ม (niche market) ที่มีความได้เปรียบในการลดการแข่งขันจากตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่า อีกทั้งกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานมีการใช้ทั้งทรัพยากรและแรงงานในท้องถิ่นเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นหากสามารถยกระดับผู้ประกอบการจักสานย่านลิเภาให้ดีขึ้นได้ ก็จะสามารถช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่นครศรีธรรมราชให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การพัฒนาเครื่องจักตอกรีดเส้นย่านลิเภา เพื่อเพิ่มผลผลิตผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา และลดปัญหาอาการบาดเจ็บ ความเมื่อยล้า 2) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาร่วมสมัยโดยตกแต่งด้วยวัสดุประกอบแบบหรูหรา 3) การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา ผ่านการสร้างลวดลายใหม่จากสมการทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรม GSP รวมทั้งการสร้างกลยุทธ์ด้านการสื่อสารและกลยุทธ์ด้านการตลาด จนเกิดห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เกิดการกระจายรายได้ของผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาอย่างเป็นธรรม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกระบวนการผลิตในระดับต้นน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดระยะเวลาในการทำงานทำให้ชุมชนเป้าหมายสามารถผลิตชิ้นงานตอบสนองต่อความต้องการตลาด เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ย่านลิเภารูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำกันกับที่มีอยู่ในท้องตลาด สามารถนำต้นแบบนี้ไปผลิตเพื่อจำหน่ายได้จริง เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชนทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนของชุมชนดีขึ้น เนื่องจากเป็นการกระจายรายได้ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช 100 เปอร์เซ็นต์ จากห่วงโซ่คุณค่าใหม่ดังกล่าวสามารถคิดมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากโครงการวิจัยได้เท่ากับ 10.2% สามารถนำไปสู่การขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและจังหวัดนครศรีธรรมราช
SR-02 “การพัฒนาท้องถิ่นโคราชด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
รหัส: SR-02
ผลงาน: การพัฒนาท้องถิ่นโคราชด้วยวิจัยและนวัตกรรม
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาขับเคลื่อนการทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย และระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เป้าหมาย มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองแนวทางดำเนินโครงการพระราชดำริและยุทธศาสตร์ของจังหวัดและยุทธศาสตร์ของภูมิภาค รวมถึงทิศทางการพัฒนาของประเทศ ภายใต้โจทย์การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อขจัดความยากจน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีศักยภาพในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่พึ่งตนเองได้ บนฐานการสร้างพื้นที่เสริมศักยภาพท้องถิ่นตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) รวมทั้งการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าสู่การสร้างสังคมและเศรษฐกิจมูลค่าสูงโดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างมูลค่าและทุนทางสังคม อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม การลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาอย่างยั่งยืน
SR-03″นวััตกรรมชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้”
รหัส: SR-03
ผลงาน: นวััตกรรมชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในภารกิจให้บริการวิซาการและพัฒนาท้องถิ่น ในทุกมิติทั้งด้าน น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และ
สิ่งแวตล้อม ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโครงกรยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสนองตอบพระบรมราโชบายของ พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑. ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไต้ทรง มีปณิธาน “สืบสาน รักษา ต่อยอต” และมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงไต้ซับเคลื่อนโครงการพัฒนาท้องถิ่น วิจัย และ ะสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหสื่ อมล้ำ ที่ใช้เป็นแนวทางการพัฒนายกระดับรายต้ของประชาชน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ๒๐ ปี ในประเด็น๓ การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน ยึตตามกรอบแนวทางการพัฒนาของประเทศ
ภายได้ยุทธศาสตร์ซาติ ๒๐ ปี ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและบูรณาการกัน เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งไต้น้อมนำหลักปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกด์ใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่ครอบคลุมมิติการพัฒนาต้านการพัฒนาคน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมสันติภาพ และความยุติธรรม และความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา และบนฐานการสร้างพื้นที่เสริมศักยภาพท้องถิ่นตามโมเตล BCG Mode! เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ดำเนินการกิจในการเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแนภาคต้ โตยการพัฒนายกระตับผลผลิตทางการเกษตร (อัตลักษณ์ท้องถิ่น) แบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อยกระตับผลิตภัณฑ์ชุมชน มุ่งอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณภาพชีวิต และยุทธศาสตร์ที่เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนของ ๓ จังหวัดชายแตนภาคใต้ให้มีความเข้มแข้ง มั่นคง และยั่งยืนต่อไป
SR-04 “นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
รหัส: SR-04
ผลงาน: นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
เนื้อหาโดยย่อ: การรวบรวมผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้แรงบันดาลใจจากการลงพื้นที่ของนักวิจัย นำอัตลักษณ์ของชุมชนมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่าและยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
SR-05 “เครื่องคั่วและกะเทาะเปลือกเมล็ดโกโก้”
รหัส: SR-05
ผลงาน: เครื่องคั่วและกะเทาะเปลือกเมล็ดโกโก้
เนื้อหาโดยย่อ: สร้างมูลค่าเพิ่มเมล็ดโกโก้แห้งและทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดจากต่างประเทศ ภายใต้เแนวคิดในการออกแบบเครื่องมือให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน รวมเอาขั้นตอนการคั่วเมล็ดโกโก้และการกะเทาะเปลือกเมล็ดโกโก้ในเครื่องเดียวกัน
WR-01 การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานหัตถกรรมจักสาน
รหัส: WR-01
ผลงาน: การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานหัตถกรรมจักสาน
เนื้อหาโดยย่อ: งานหัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นในชุมชนของจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันใช้แรงงานคนเป็นหลักในการจักตอกด้วยมือ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของชุมชนจึงได้ดำเนินการพัฒนาและสร้างเครื่องจักตอกใหม่ให้มีระบบการทำงานมีการปรับตั้งความหนาเพื่อจักตอกได้ง่ายขึ้น นำไปจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขึ้น ยกระดับผลิตภัณฑ์สู่การค้าในเชิงพาณิชย์และสามารถใช้ตอกไม้ไผ่ผลิตเครื่องจักสานหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นการส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้อย่างง่าย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่ดั้งเดิม ส่งถ่ายทอดเทคนิควิธีการจักสานให้กับลูกหลาน และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเพิ่มรายได้จากการผลิตงานหัตถกรรมจักสานให้กับกลุ่มชุมชนได้อีกแนวทางหนึ่งในอนาคต
WR-02 “การยกระดับอาชีพการนวดแผนไทย และสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม”
รหัส: WR-02
ผลงาน: การยกระดับอาชีพการนวดแผนไทย และสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เนื้อหาโดยย่อ:
งานวิจัยเรื่องการยกระดับอาชีพการนวดแผนไทย และสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นของนิทรรศการที่เกิดจากผลการวิจัย ประกอบด้วย 4 ประการ คือ 1) สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบน้ำมันนวดส้มโอนครชัยศรี เป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากเปลือกส้มโอเหลือใช้ ผ่านการวิเคราะห์คุณสมบัติพบว่ามีฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระ 3.41 ± 0.06 mg Ec50/ml สามารถสร้างเอกลักษณ์การนวดให้กับจังหวัดนครปฐม 2) สร้างสปาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับชมรมนวดวัดตุ๊กตา เป็นการใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่น สู่การทำ Local wisdom spa นำเสนอเอกลักษณ์ของส้มโอ และใบบัวบก เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกชมรมนวดวัดตุ๊กตา 3) สร้างสปาออร์แกนิก (Organic Spa) ให้กับชุมชนบ้านหัวอ่าว การใช้ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์สู่การทำสปาออร์แกนิค (Organic Spa) นำเสนอเอกลักษณ์ของฝรั่ง ส้มโอ และข้าวสาร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 4) สร้างรูปแบบการล่องเรือนวดเส้นทางแม่น้ำนครชัยศรี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และยกระดับรายได้อาชีพการนวดแผนไทย และสปาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้การผสมผสานระหว่างการล่องเรือแม่น้ำนครชัยศรี แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
WR-03 “การพัฒนานักศึกษาต้นแบบโดยใช้กระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อสร้างรวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นบนเส้นทางการท่องเที่ยวจากเขาวังสู่เขาแด่น จังหวัดเพชรบุรี”
รหัส: WR-03
ผลงาน: การพัฒนานักศึกษาต้นแบบโดยใช้กระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อสร้างรวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นบนเส้นทางการท่องเที่ยวจากเขาวังสู่เขาแด่น จังหวัดเพชรบุรี
เนื้อหาโดยย่อ:
เป็นการนำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะ 4 ประการ คือ การเป็นนักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร โดยใช้พื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งผลลัธ์ของการ
พัฒนานักศึกษาในครั้งนี้ ยังส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย
WR-04 จากอดีตสู่อนาคต: ก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
รหัส: WR-04
ผลงาน: จากอดีตสู่อนาคต: ก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2497 ภายใต้ชื่อ “วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง” ตามแนวคิด “วิทยาลัยหมู่บ้าน” ของประเทศตุรกี ที่ต้องการสร้างโอกาสทางการศึกษาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่ห่างไกล โดยการคัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ชนบทห่างไกลมาบ่มเพาะและปลูกฝังความเป็นครู เน้นการฝึกทักษะที่สำคัญจำเป็นแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนนำกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองภายหลังสำเร็จการศึกษา ส่งผลให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงมีความเข้มแข็งและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
จากอดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าสถานศึกษาแห่งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการจัดการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก แต่ยังคงสืบทอดเจตนารมณ์ของการก่อตั้ง ผ่านพันธกิจวิจัยและบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น อาทิ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่นผ่านกระบวนการวิจัย เรื่องการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้บนฐานมรดกวัฒนธรรมภูมิปัญญาข้าวไทยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี การสร้างกระบวนการคิดเชิงระบบ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านงานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น และการท่องเที่ยวบนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมมอญลุ่มน้ำแม่กลอง ผ่านกระบวนการคิดเชิงระบบ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อเชื่อมโยงการศึกษากับชุมชน ผ่านงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเรื่องวิถีชีวิตชุมชนพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงในฐานะมหาวิทยาลัยกลุ่ม ๓ ที่เน้นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ได้สนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา สร้างสรรค์ผลงานวิจัย และนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างสมรรถนะ เพื่อยกระดับชุมชนท้องถิ่นในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผ่านแผนยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์การสร้างสรรค์วิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบนิเวศงานวิจัย ฐานข้อมูลงานวิจัย และการพัฒนาโจทย์วิจัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
CR-01 “นวัตกรรมเพื่อยกระดับการเลี้ยงและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาซ่อนแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี”
รหัส: CR-01
ผลงาน: นวัตกรรมเพื่อยกระดับการเลี้ยงและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาซ่อนแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี
เนื้อหาโดยย่อ:
เป็นงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและนโยบายยุทธศาสตร์จังหวัดสิงห์บุรี ในประเด็นการเพิ่ มผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ ปลอดภัย มีการแปรรูปเพื่อเพิ่ มมูลค่าผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสู่ตลาดผู้บริโภคผ่านหลายช่องทางและสร้างรายได้จากสินค้าเกษตรปลอดภัยเกษตรกรและวิสาหกิจซุมชนผู้เพาะเลี้ยง/แปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาช่อนแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี สามารถนำความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากผลงานวิจัย ไปพัฒนาอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มปลาช่อนแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี
CR-02 “เกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณและการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็ก”
รหัส: CR-02
ผลงาน: เกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณและการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็ก
เนื้อหาโดยย่อ:
เป็นการนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาเกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ และ
การพัฒนาเกมบนมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ซึ่งภายในนิทรรศการจะมีแท็บเล็ตสำหรับให้ทดลองเล่นเกม
CR-03 “การพัฒนาชุมชนต้นแบบความมั่นคงทางอาหาร และการยกระดับรายได้ของครัวเรือน”
รหัส: CR-03
ผลงาน: การพัฒนาชุมชนต้นแบบความมั่นคงทางอาหาร และการยกระดับรายได้ของครัวเรือน
เนื้อหาโดยย่อ:
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนถึงปัจจุบันส่งผลให้เกิดปัญหาด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจทำให้เกิดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรและแรงงานทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยและไม่มั่นคง โดยในปี พ.ศ. 2560 ประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนมากประสบปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ขาดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการวางแผนการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจึงเป็นความคาดหวังในการที่จะคิดหาวิธีจัดการแก้ไขความยากจนและความเหลื่อมล้ำอย่างถูกต้องและมีความยั่งยืน การขับเคลื่อนประเทศโดยใช้กลไกของประชารัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและให้มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยมีเป้าหมายทำให้ประเทศชาติมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงทางอาหารและการยกระดับรายได้ของครัวเรือนโดยใช้การใช้ทรัพยากรในชุมชนจึงเป็นแนวทางสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
ดังนั้น เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๐ แห่งจากทั่วทุกภูมิภาค จึงเห็นความสำคัญในการร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุมชนต้นแบบความมั่นคงทางอาหาร และการยกระดับรายได้ของครัวเรือนโดยการเชื่อมโยงศักยภาพของพื้นที่ เพื่อรองรับและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชากรในท้องถิ่น สร้างพื้นที่ต้นแบบบนฐานทรัพยากรในท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความยากจนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน
CR-04 “มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีกับการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยวิจัยและนวัตกรรม”
รหัส: CR-04
ผลงาน: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีกับการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยวิจัยและนวัตกรรม
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีร่วมกับเครือข่าย ได้ดำเนินการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมส่งเสริมชุมชนประมงให้ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษณ์ทรัพยากรประมงร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ ในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการทางการประมง เช่น การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์การตลาด เพื่อฟื้นคืนทรัพยากรประมงและคืนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพยากรประมงให้กับชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามหลักการของศาสตร์พระราชา
CR-02 “ศาสตรแห่งวไลยอลงกรณ์ ตามรอยบาทพระราชา สร้างวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน”
รหัส: CR-05
ผลงาน: ศาสตรแห่งวไลยอลงกรณ์ ตามรอยบาทพระราชา สร้างวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
การวิจัยเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และพัฒนาชาติ เกิดเป็นองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา และยกระดับศักยภาพ สร้างคุณค่ให้แก่อาจารย์หรือนักวิจัยให้เพิ่มขึ้น มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางในการบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยปัจจัย และเหตุผล เพื่อบรรวัตถุประสงค์ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ ซึ่งการวิจัยเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยไปช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชนและสังคม สมดั่งพระราโชบายในพระบาทสมด็จพระชิรเกล้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ ทรงวางรากฐานให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำหน้าที่เป็นเพื่อสร้างครู สร้างวิศวกรสังคม เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดจึงมุ่งมั่น และสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยอยู่เสมอ เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมีองค์ความรู้ที่หลากหลายทันสมัย และแก้ไขปัญหาต่างๆได้ครบทุกมิติ สร้างสังคมไทยให้สมดุล สมบูรณ์ และยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีพันธกิจเพื่อพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมฐานรากและสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมทั้งภาครัฐและสังคม ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในรอบปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อสร้งองค์ความรู้ และนวัตกรรม ที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนในจังหวัดปทุมธานี สระแก้ว และพระนครศรีอยุธยา จำนวน 27 โครงการ ส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆและนอกนี้ยังบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goal ในเป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 7, 8, 9, 12, 15 และ 17โดยนิทรรศการจะแสดงผลงานเชิงประจักษ์ าทิ องค์ความรู้ ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
BR-01 “ผ้าขาวม้า พาสุข (ภาพ) แข็งแรง”
รหัส: BR-01
ผลงาน: ผ้าขาวม้า พาสุข (ภาพ) แข็งแรง
เนื้อหาโดยย่อ:
กิจกรรมการออกกำลังกายที่ประยุกต์ใช้ผ้าขาวม้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่อยู่คู่กับวิถีคนไทย
มาช้านาน และยังเป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการออกกำลังกายที่เหมาะ
สำหรับผู้สูงอาย ให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าไทย
BR-02 “การจัดการทีองเที่ยวโดยชุมชนฝั่งธนบุรีเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน”
รหัส: BR-02
ผลงาน: การจัดการทีองเที่ยวโดยชุมชนฝั่งธนบุรีเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
การนำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่มาใช้สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มรายได้ในพื้นที่ เช่น เส้นทาง การอนุรักษ์ และของที่ระลึก ที่เป็นอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของพื้นที่
BR-03 “วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง”
รหัส: BR-03
ผลงาน: การพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
“วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง” เป็นนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยแบบบูรณาการงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีการนำกระบวนการวิจัยจากหลายศาสตร์มาใช้ในการดำเนินงานวิจัย แสดงถึงกระบวนการลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนเพื่อพัฒนาแนวทางการวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้จากงานวิจัยและการประยุกต์ใช้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและชุมชนท้องถิ่น
1) การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือจากวิธีปฏิบัติของชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นโครงการวิจัยขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SEP for SDGs) ในมิติ Partnership เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ดำเนินการร่วมกับคณะนักวิจัย 3 มหาวิทยาลัย คือ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มรภ.จันทรเกษม และ มรภ.นครปฐม
2) การศึกษาและการเปรียบเทียบสภาวะการเตรียมข้าวเกรียบมันเทศแบบกึ่งสำเร็จรูป โดยพัฒนาสูตรข้าวเกรียบมันเทศและการใช้ความร้อนจากรังสีไมโครเวฟในการทำให้ข้าวเกรียบสุกโดยไม่ใช้น้ำมัน และสามารถจำหน่ายข้าวเกรียบแบบดิบเพื่อลดพื้นที่และลดความเสียหายจากการขนส่งข้าวเกรียบ นอกจากนั้นสามารถยืดอายุการเก็บรักษาข้าว นำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวและประยุกต์ใช้กับผลไม้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย
3) การศึกษาและเปรียบเทียบสภาวะการสกัดน้ำมันมะพร้าวด้วยวิธีสกัดแบบเย็นและแบบร้อน เพื่อให้ทราบสภาวะการสกัดน้ำมันมะพร้าวที่เหมาะสมด้วยอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น โดยนักวิจัยได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปให้คำปรึกษาและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มากส์หน้าจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นต้น
BR-04 “ชุมชนยั่งยืนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางเกษตร”
รหัส: BR-04
ผลงาน: ชุมชนยั่งยืนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางเกษตร
เนื้อหาโดยย่อ: การยกระดับสินค้าทางการเกษตรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารให้มาตรฐานและมีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ดนางฟ้า และปลาน้ำจืดขนาดเล็ก โดยการ ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการพัฒนา และแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย
BR-05 “นวัตกรรมสวนสุนันทาตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
รหัส: BR-05
ผลงาน: นวัตกรรมสวนสุนันทาตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เนื้อหาโดยย่อ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา น้อมนำศาสตร์พระราชาในการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมไทย การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม นำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาค โดยนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลใน 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม สู่การพัฒนาประเทศให้มั่นคง ยั่งยืน ดังผลงานที่ได้นำเสนอในงานนิทรรศการครั้งนี้ อาทิ 1) นวัตกรรมการสร้างบ้านผึ้ง เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มปริมาณของผลผลิต เป็นผลงานที่แก้ปัญหากระบวนการเลี้ยงผึ้งและเก็บผลผลิตแบบเดิมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการพ่นควัน ลดอันตรายที่จะเกิดในระหว่างเก็บผลผลิต ตัวผึ้งไม่ถูกรบกวนไม่ต้องสร้างรังใหม่สามารถผลิตน้ำผึ้งได้ต่อเนื่อง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งให้เพิ่มขึ้น 2) นวัตกรรมกระดาษกล้วยหอมทอง ภายใต้แนวคิด BCG Model แปรรูปของเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากลำต้น ก้าน โคนใบ เป็นเยื่อกระดาษด้วยวิธีการภูมิปัญญาชาวบ้านแบบทำมือ หรือกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ ช่วยแก้ปัญหาและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี 3) นวัตกรรมลูกอมและเจลลี่กัมมี่จากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ที่ได้นำพืชที่มีสรรพคุณทางยา มาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
ผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการตามศาสตร์พระราชา คือการลงไปศึกษาและเรียนรู้จากชุมชน ให้ได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริง เพื่อช่วยชุมชนในการพัฒนา แก้ไขปัญหาในทุกมิติโดยคำนึงถึงบริบทของชุมชน ความต่อเนื่องและยั่งยืน